ว่าด้วยเรื่อง ภาพยนตร์

ภาพยนตร์มีคุณลักษณะพิเศษ คือ การเห็นภาพและเสียง ที่เสมือนจริงและชวนประทับใจ เหมือนว่าได้พาเราเข้าไปสู่เหตุการณ์นั้นจริงๆ ภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อผู้ชมเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เป็นเหตุให้เกิดการแพร่หลายจนได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ภาพยนตร์ หรือที่เราเรียกกันว่า “หนัง” ได้ถูกพัฒนา ปรับปรุงมาเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นในแง่ เนื้อหา หรือเทคนิค วิธีการนำเสนอ  จากยุคเริ่มต้น ที่ภาพยนตร์คือการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำเสนอโดยการฉายในลักษณะที่เคลื่อนไหว ( motion picture) ซึ่งก็คือภาพนิ่งจำนวนมากที่มีอิริยาบถเคลื่อนไหว ถูกนำมาตัดต่อตามเหตุการณ์และเรื่องราว ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงก็ได้ ภาพยนตร์ในสมัยก่อนนั้นมีข้อจำกัดหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็น ภาพขาว-ดำ ไม่มีเสียง ระยะเวลาสั้น ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลานั้น ปัจจุบันนี้ ภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง เวลาประมาณหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สั้นพอที่จะเล่าเรื่องราวของคนคนหนึ่งเกือบทั้งชีวิตแต่อาจจะยาวไม่พอที่จะเล่าเรื่องราวทั้งชีวิตของคนคนนั้น ก็อยู่ที่ผู้สร้างว่าต้องการที่จะหยิบยกประเด็นใดขึ้นมา
บทบาทและหน้าที่ของภาพยนตร์ไม่ได้มีเพียงแต่ด้านของความบันเทิงเพียงอย่างเดียว นอกจากบทบาทหน้าที่ด้านความบันเทิงแล้ว ภาพยนตร์ยังมีบทบาทด้านอื่นๆเช่น บทบาทด้านการนำเสนอข่าวสารและสาระทั่วไป บทบาทด้านการศึกษา บทบาทด้านค่านิยมของบุคคลและสังคม และบทบาทด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมเป็นอย่างมากส่งผลให้เกิดพฤติกรรมในการเลียนแบบ จึงให้ได้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ชม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้สร้างในการเลือกนำเสนอสิ่งที่เหมาะสมให้แก่ผู้ชม และก็เป็นหน้าที่ของผู้ชมเช่นกันที่ควรจะมีวิจารณญาณในการรับชม
ตัวอย่าง จากภาพยนตร์เรื่อง “รักแรกในความทรงจำ” Architecture 101
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหนุ่มสาวสองคนที่มีความผูกพันกับความรักครั้งแรกในอดีต จนเมื่อเวลาผ่านไป 15 ปีทั้งสองได้กลับมาพบกันอีกครั้งพร้อมกับคำสัญญาในวัยเด็กของชายหนุ่มว่าจะสร้างบ้านให้เธอ . . .  
“ทำไมถึงมาหาฉันได้ล่ะ ไม่มีคนอื่นที่สร้างบ้านให้เธอได้เลยหรือไง”
โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เปรียบเปรยว่าความรักนั้นเหมือนกับการสร้างบ้าน  “เมื่อเราไปที่บ้านใครคนหนึ่งแล้วละก็ ในระหว่างการสร้างบ้านโดยเข้าใจถึงความต้องการของอีกฝ่าย มันทำให้คนสองคนเข้าใจความต้องการของกันและกัน การที่สามารถเข้าใจในตัวอีกฝ่ายได้นั้นก็เหมือนกับ “โครงสร้างของความรัก”  คำกล่าวของผู้กำกับภาพยนตร์
                ภาพยนตร์บางเรื่องไม่ได้เฉลยคำตอบ จุดจบหรือบทสรุปของภาพยนตร์ที่ชัดเจนออกมา ผู้ชมจะได้รับข้อความที่ซ่อนอยู่ในภาพยนตร์นั้น โดยก็เป็นสิทธิของผู้ชมว่าต้องการจะหาข้อความที่ถูกซ่อนอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าภาพยนตร์นั้นไม่ได้ให้แค่อรรถรสความบันเทิงแต่ก็ยังให้สาระแก่ผู้ชมด้วย
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในแง่ศีลธรรมจากภาพยนตร์เรื่อง The Reader ที่มีฉากที่ตัวละครซึ่งเป็นหญิงวัยกลางคนมีเพศสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มวัยสิบห้า ซึ่งต้องมองว่าผู้ชมใช้วิจารณญาณส่วนใดในการรับชม มองแค่ความบันเทิง หรือมองถึง ข้อความที่ภาพยนตร์สอดแทรกมา ฉากการมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์พูดถึงค่ายกักกันซึ่งให้สาระในแง่ประวัติศาสตร์ และอีกสิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์บอกคือ ชายหนุ่มวัยสิบห้าเมื่อเขาเติบโตเขาปราถนาการอ่านออกเสียง เพราะในช่วงวัยหนุ่ม ก่อนเขาจะมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวคนนั้นเขาจะต้องอ่านหนังสือให้เธอฟังก่อน ซึ่งเป็นการอ่านออกเสียงดังๆ (Reading Around) ซึ่งหนังสือที่เขาอ่านให้เธอฟังนั้นก็ล้วนเป็นวรรณกรรมสุดคลาสสิค ชิ้นเอกของโลก เช่น มหากาพย์โอดิสซี ฯ
เรื่องสุดท้ายคือเรื่ององค์ประกอบของภาพยนตร์ สภาพการฉายภาพยนตร์หรือ “บรรยากาศ” ที่อยู่ในโรงภาพยนตร์ “ความมืด” ที่บังคับให้ผู้ชมสนใจในจุดๆเดียวกัน คือ จอภาพ หน้าจอสีขาวๆรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ใช่หน้าอกหน้าใจ ดั่งที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ ค่าตั๋ว 140 บาทที่เสียไปเป็นการสนับสนุนแก่ผู้สร้างภาพยนตร์เพื่อนให้เกิดกำลังใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อๆไป 140 บาทอาจถูกกว่าการเข้าใช้โรงแรม แต่อย่างไร โรงภาพยนตร์ก็คือสถานที่ฉายภาพยนตร์ให้แก่ผู้คน โปรดอย่าฉกฉวยบรรยากาศที่สร้างมาเพื่อความตื่นเต้นส่วนตัวของตนเองเลย

Leave reply

Back to Top